โควิด-19 ส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิตวัยหนุ่มสาว 18-24 ปี มากที่สุด (ไทยรัฐออนไลน์)

ผลการวิจัยล่าสุดพบว่าเกือบ 2 ใน 3 ของ ประชากรวัย 18-24 ปี มีอาการป่วยทางจิตผลพวงจากโควิด-19
การระบาดของโรคโควิดทำให้คนตกงาน บางคนได้รายได้ลดลงมาก ซึ่งกลุ่มที่จะต้องปรับตัวมากที่สุดก็คือกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้น และผู้ใหญ่ตอนปลาย ที่จะต้องรับมือกับช่วงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจนกลายเป็นแรงกดดัน
หน่วยงานและสถานศึกษาเป็นหน่วยงานหลักที่จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยบรรเทาปัญหา ด้วยการจัดหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่บุคลากร เพื่อช่วยประคองให้ผู้ที่เผชิญความกดดันทางจิตใจสามารถผ่านพ้นภาวะที่ยากลำบากนี้ไปได้

เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคโควิด-19 ที่ระบาดต่อเนื่องมานานเกือบ 2 ปี ส่งผลกระทบต่อทุกกลุ่มอาชีพ ทุกกลุ่มอายุ และทุกเชื้อชาติ โรงเรียนต้องปิดตัว ที่ทำงานหลายแห่งต้องปิดชั่วคราว แม้แต่การแข่งขันกีฬาต่างก็ต้องเลื่อนหรือยกเลิกจัดการแข่งขัน และที่สำคัญมาตรการเว้นระยะห่างมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก เพื่อสกัดกั้นการระบาดให้ได้โดยเร็ว ซึ่งเหตุปัจจัยเหล่านี้ โดยเฉพาะการงดเข้าสังคมดูเหมือนจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มของวัยหนุ่มสาวมากที่สุด

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพูดถึงประเด็นนี้ เพราะก่อนหน้านี้ก็มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของโรคโควิด-19 ที่มีต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วย รวมทั้งสุขภาพจิตของผู้ที่ไม่ได้ป่วย แต่ไม่สามารถปรับตัวกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปอย่างมากได้ ซึ่งในผลวิจัยล่าสุดที่เก็บรวบรวมข้อมูลโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ พบว่า 63 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มประชากรอายุระหว่าง 18-24 ปี มีอาการของความวิตกกังวลและซึมเศร้า ขณะที่อีก 25 เปอร์เซ็นต์ มีปัญหาที่จะรับมือกับความเครียดเพิ่มขึ้น และอีก 25 เปอร์เซ็นต์คิดที่จะฆ่าตัวตาย

ดร.ชีคาร์ ซาเซนา ศาสตราจารย์ด้านสุขภาพจิตของโรงเรียนการแพทย์ฮาร์วาร์ด ระบุว่า ผลกระทบของโรคโควิด-19 ที่มีต่อสุขภาพจิตพบเป็นวงกว้างในกลุ่มวัยหนุ่มสาว ตัวเลขที่พบชี้ว่า 2 ใน 3 ของคนกลุ่มนี้จะมีอาการของความวิตกกังวล ซึมเศร้า รวมทั้งปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่นๆ ดร.ซาเซนา ยังระบุด้วยว่า แม้การระบาดของโควิด-19 จะจบสิ้นลง แต่ 10 เปอร์เซ็นต์ของกลุ่มหนุ่มสาวที่มีอาการทางจิต จะยังไม่หายไป และยังต้องรับมือกับอาการป่วยในระยะยาวด้วย ซึ่งนั่นจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และการศึกษาหาความรู้ของพวกเขา

การระบาดของโรคนี้ทำให้คนส่วนมากตกงาน บางคนได้รายได้ลดลงมาก และยังไม่รู้ว่าในอนาคตจะนำไปสู่อะไรได้อีกบ้าง ซึ่งกลุ่มที่จะต้องปรับตัวมากก็คือกลุ่มผู้ใหญ่ตอนต้น และผู้ใหญ่ตอนปลาย ที่จะต้องรับมือกับช่วงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
โดยข้อมูลจากองค์กรพันธมิตรผู้ป่วยโรคทางจิตแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ชี้ว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยทางจิตที่มีอาการตลอดชีวิต เริ่มพัฒนาอาการป่วยมาตั้งแต่อายุ 14 ปี และอีก 75 เปอร์เซ็นต์เริ่มมีอาการนับตั้งแต่อายุ 24 ปี

ขณะที่เครือข่ายสุขภาพจิต ก็มีการสรุปผลสำรวจที่ได้มาว่า 80 

                        


ประกาศโดย: ศิริพร พร้อมจันทึก
เมื่อวันที่: 29 มี.ค. 2564, 16:30
เพิ่มเติม: https://www.thairath.co.th/news/foreign/2038404
กลับสู่หน้าเว็บไซต์